นกกระทา (Quail) มีเลี้ยงอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย อเมริกา และยุโรป แต่ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่า ประเทศใดเริ่มเลี้ยงนกกระทาเป็นแห่งแรก แต่สำหรับในแถบเอเชียแล้ว ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่นำนกกระทามาเลี้ยง ซึ่งในระยะแรกของการเลี้ยงก็เพื่อไว้ฟังเสียงร้องเหมือนการเลี้ยงนกเขาในบ้านเรา ต่อมาได้ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์จนได้นกกระทาที่ให้ไข่ดก สำหรับประเทศไทยเรามีนกกระทาพันธุ์พื้นเมืองอยุ่ไม่น้อยกว่า 12 ชนิด แต่ให้ไข่และเนื้อน้อยกว่านกกระทาญี่ปุ่น จึงได้มีการนำนกกระทาจากญี่ปุ่นมาเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ถึงแม้จะไม่กว้างขวางมากมาายเท่ากับการเลี้ยงไก่ หรือเป็ดก็ตาม แต่การเลี้ยงนกกระทาก็มีแนวโน้มที่จะเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรได้ดี เพราะระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น ในผลตอบแทนได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ และใช้เงินลงทุนน้อย
ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของนกกระทา 1. ประสิทธิภาพในการผลิตค่อนข้างสูง เพราะนกกระทาสามารถให้ไข่ได้ 7-8% ของน้ำหนักตัว อัตราการให้ไข่เฉลี่ย 70%
2. ให้ผลตอบแทนเร็ว เพราะนกกระทาเริ่มให้ไข่เมื่ออายุ 42-45 วัน ระยะเวลาในการให้ผลผลิตไข่นานประมาณ 11 เดือน
3. ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย พื้นที่ประมาณ 3 ตารางเมตร สามารถเลี้ยงนกกระทาได้กว่า 500 ตัว จึงใช้เงินในการลงทุนไม่มากนัก
4. วิธีการเลี้ยงดูง่าย โตเร็ว สามารถทำการผลิตให้เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้
5. เนื้อนกกระทาสามารถนำปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด และเนื้อมีคุณภาพดี
โรงเรือนและอุปกรณ์:: โรงเรือน :: โรงเรือนสำหรับ นกกระทา จะสร้างแบบเดียวกับโรงเรือนเลี้ยงไก่ก็ได้ เช่น แบบเพิงหมาแหงน หรือหน้าจั่ว แต่ขอให้สะดวกต่อการปฏิบัติเลี้ยงดู และรักษาความสะอาด มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นกกระทาอยู่อย่างปลอดภัยจากศัตรูที่มารบกวน และเป็นโรงเรือนแบบง่ายๆ ที่ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ภายในโรงเรือนหากจะเลี้ยงแบบกรงซ้อนกันหลายๆ ชั้น เพดานต้องสูงพอสมควร
พื้นโรงเรือน ควรเป็นพื้นคอนกรีต เพราะสะดวกในการล้างทำความสะอาด หากเป็นพื้นดินจะต้องอัดให้แน่น สำหรับฝาโรงเรือนควรใช้ลวดตาข่ายหรือลวดถักขนาดเล็ก หรือไม้ขัดแตะก็ได้ ที่สามารถกันหนู นก และสัตว์อื่นๆ ได้ และควรจะมีผ้าม่านที่ใช้กั้นในเวลาที่ลมโกรก หรือกันฝนสาดเข้าไปในโรงเรือน
การระบายอากาศเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และผู้เลี้ยงควรจะเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง การระบายอากาศภายในโรงเรือนดีจะมีผลดีต่อสุขภาพการเจิรญเติบโตและการให้ผลผลิตของนกกระทา เพราะการระบายอากาศเป็นการนำอากาศของเสียออกและดึงอากาศดีเข้าภายในโรงเรือน ซึ่งหากการระบายอากาศไม่ดีจะทำให้ภายในโรงเรือนอับชื้น กลิ่นแก๊สแอมโมเนียสะสม ซึ่งจะมีผลต่อเยื่อตาของผู้เลี้ยงและนกกระทา รวมไปถึงมีผลต่อการให้ผลผลิตไข่ด้วย การระบายอากาศที่ดีประมาณ 0.5 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที ต่อนกกระทา 100 ตัว ที่อุณหภูมิห้อง 20 องศาเซลเซียส
:: อุปกรณ์ในการเลี้ยงนกกระทา ::
กรงสำหรับลูกนก ขนาดของกรงกกขึ้นกับขนาดของลูกนก โดยทั่วไปจะใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 0.5 เมตร สำหรับกกลูกนกอายุ 1-20 วัน ได้ประมาณ 250-300 ตัว ด้านกว้างของกรงควรจะทึบ ส่วนด้านยาวโปร่ง แต่ถ้าอากาศหนาวควรจะปิดทึบทั้ง 4 ด้าน พื้นกรงใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมขนาด 1x1 ซ.ม. หรือลวดตาข่ายพลาสติก ตาเล็กๆ กรงกกอาจจะวางซ้อนกันหลายๆ กรงก็ได้ แต่ต้องทำประตูเปิด-ปิดไว้ในทางเดียวกัน เพื่อสะดวกในการทำงาน และควรมีภาชนะรองรับขี้นกจากกรงบนๆ ไม่ให้ตกใส่กรงด้านล่าง เพื่อป้องกันโรคระบาดด้วย
ภายในกรงกกต้องใช้กระสอบ หรือถุงอาหารสัตว์ หรือผ้าหนาๆ ปูพื้นเพื่อป้องกันขาลูกนกติดช่องตาข่าย และลูกนกได้รับความอบอุ่นเต็มที่ พอกกไปได้ 3-5 วัน อาจนำกระสอบที่ปูพื้นออกได้ แต่ถ้าเลี้ยงบนพื้นอาจใช้วัสดุรองพื้น เช่น แกลบ ขี้เลื่อย หญ้าแห้งสับ เป็นต้น
ลูกนกที่เพิ่งออกจากไข่ใหม่ๆ ต้องการความอบอุ่นเช่นเดียวกับลูกเป็ด ลูกไก่ จึงจำเป็นต้องให้ความอบอุ่น โดยใช้หลอดไฟฟ้า 1 หลอด สำหรับลูกนก 60-100 ตัว อุณหภูมิที่ใช้ในการกกในสัปดาห์แรก ประมาณ 95 องศาฟาเรนไฮต์ แล้วค่อยๆ ลดลงสัปดาห์ละ 5 องศาฟาเรนไฮต์ จนเท่ากับอากาศธรรมดา ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตการกระจายลูกนกภายใต้เครื่องกกด้วย จะใช้เวลาในการกกนาน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้จะช้า หรือเร็วขึ้นกับอุณหภูมิปกติ และสุขภาพของลูกนกด้วย หลังจากลูกนกอายุ 3 สัปดาห์ จะย้ายไปเลี้ยงในกรงนกรุ่น หรือกรงนกขังเดี่ยวก็ได้
ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ที่ให้น้ำ อาหาร จะต้องจัดให้เพียงพอกับจำนวนลูกนกที่เลี้ยงอยู่ เพราะถ้าภาชนะให้น้ำ-อาหารไม่เพียงพอ ลูกนกจะเข้ามาแย่งกันกินน้ำ-อาหาร ทำให้เบียดและเหยียบกันตายได้ หรือลูกนกตัวที่เล็ก หรืออ่อนแอก็จะเข้าไปกินน้ำ-อาหารไม่ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสีย
:: กรงนกใหญ่ ::
กรงนกใหญ่อาจจะเป็นกรงขังเดี่ยว หรือกรงขังรวมฝูงใหญ่ก็ได้ ขึ้นกับวัตถุประสงค์ กรงขังเดี่ยวเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทราบสถิติข้อมูลนกกระทาเป็นรายตัวว่าให้ผลผลิตมากน้อยเท่าใดหรือใช้แยกเลี้ยงนกกระทาที่แสดงอาการเจ็บป่วย ซึ่งกรงขังเดี่ยวอาจจะลักษณะเช่นเดียวกับกรงตับไข่ไก่ ซึ่งมีทั้งชนิดกรงตับชั้นเดียว หรือหลายๆ ชั้นก็ได้ แต่ไม่ควรซ้อนกันมากเกินไป เพราะจำทกให้การทำงานลำบาก คือ ให้พื้นลาดเอียงเพื่อจะทำให้ไข่กลิ้งออกมาได้ รางอาหารและน้ำอยู่ด้านหน้า และหลังกรง ด้านข้างเป็นตาข่ายขนาด 1x2 นิ้ว เพื่อให้หัวนกลอดออกมากินอาหารได้ ขนาดอาจจะกว้างประมาณ 5 นิ้ว ลึก 6 นิ้ว และสูง 5 นิ้ว พื้นลาดเอียง 15 องศา นอกจากจะเป็นกรงขังเดี่ยวแล้ว ผู้เลี้ยงอาจจะทำเป็นกรงตับเลี้ยงรวม 2 หรือ 3 ตัว หรือ 4 ตัวก็ได้
สำหรับกรงรวมฝูงใหญ่ จะมีข้อดีตรงที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอุปกรณ์และสะดวกในการเลี้ยง แต่ก็มีข้อเสีย หากการจัดการไม่ดี นกจะได้รับอาหารไม่ทั่วถึง หรือถ้าเลี้ยงแน่นเกินไปจะทำให้นกเครียด ซึ่งมีผลต่อสุขภาพและการให้ผลผลิตไข่ นอกจากนี้ยังยากที่จะทราบว่านกตัวใดไข่ ตัวไหนไม่ไข่ กรงรวมฝูงขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.50 เมตร ใช้เลี้ยงนกได้ประมาณ 50-75 ตัว ส่วนความสูงของกรงนั้นควรให้สูงพอดับความสูงของนกที่จะยืนยืดตัวได้อย่างสบาย ถ้าสูงมากเกินไปนกมักจะบิน หรือกระโดดซึ่งจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้นกได้รับบาดเจ็บอาจใช้มุ้งไนลอนตีปิดแทนไม้ หรือตาข่ายก็ได้ นอกจากนี้ยังมีผู้แนะนำขนาดต่างๆ ของกรงเลี้ยงรวมไว้ดังนี้
ตารางที่ 1 ขนาดกรงเลี้ยงนกกระทา
ที่มา : อัจฉรา และคณะ, 2533 โดยอภิชัย
:: ภาชนะให้อาหาร ::
ภาชนะใส่อาหารสำหรับลูกนก ควรใช้ถาดแบนๆ ที่มีขอบสูงไม่เกิน 1 ซ.ม. เพราะหากขอบสูงเกินไป ลูกนกจะกินอาหารไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วง 3 วันแรก หลังจากนั้นอาจใช้รางอาหารแบบไก่ และถ้าให้ดีควรเป็นรางอาหารที่มีขอบ ยื่นออกมาประมาณ 1/4 นิ้ว เพื่อกันอาหารถูกคุ้ยหกกระเด็นออกมา ซึ่งจะตั้งไว้ภายในกรงหรือแขวนอยู่นอกกกรงก็ได้ หลังจากลูกนกอายุมากว่า 4 สัปดาห์ จะใช้อาหารขึ้นกับความยาวของกรง ในกรณีที่วางรางอาหารไว้นอกกรง แต่ถ้าวางรางอาหารไว้ภายในกรงให้ใช้ขนาด 40-50 ซ.ม. โดยวางไว้หลายๆ จุด เพื่อให้นกกระทากินได้ทั่วถึง นอกจากนี้อาจให้ภาชนะอื่นๆ ดัดแปลงมาเลี้ยงนกกระทาก็ได้
:: ภาชนะให้น้ำ ::
สำหรับลูกนก ใช้ที่ให้น้ำลูกไก่แบบขวด หรือกระติก โดยใส่ก้อนหินเล็กๆ เพื่อลดความลึกของน้ำ หรือทำที่กันไม่ให้ลูกนกตกน้ำหรือลงไปเล่นน้ำ เพราะจะทำให้ตายได้ โดยเฉพาะลูกนกอายุ 1 สัปดาห์แรก ผู้เลี้ยงอาจจจะดัดแปลงภาชนะอะไรก็ได้ ขอให้ปากภาชนะมีขนาดแคบและตื้น ให้เฉพาะหัวนกกระทาลงไปจิกกินน้ำได้เท่านั้น ส่วนนกใหญ่ หรือลูกนกอายุเกิน 3 สัปดาห์แล้ว สามารถใช้ที่ให้น้ำลูกไก่แบบขวด หรือกระติก หรือรางน้ำแบบแขวนก็ได้ โดยแขวนไว้ด้านนอกกรงเช่นเดียวกับรางอาหาร นอกจากนี้อาจดัดแปลงภาชะนอื่นๆ ก็ได้ เช่น ถ้วย ขันขนาดเล็กๆ หรือที่ให้น้ำอัตโนมัติ (Nipple)
:: อุปกรณ์อื่นๆ ::
1. สวิงจับนก เพื่อไม่ให้นกช้ำ เมื่อจะจับนกด้วยกรณีใดๆ ก็ตาม เช่น ตัดปาก หรือทำวัคซีน หรือจำหน่าย เป็นต้น ควรใช้สวิงตักจะทำให้นกไม่ช้ำ สวิงทำด้วยเชือกไนล่อนถักเป็นตาข่าย เย็บติดกับลวดกลมที่แข็งแรงพอสมควร ดัดเป็นห่วงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว และทำด้ามไม้ขนาดยาวพอที่จะล้วงเข้าไปจับนกในกรงได้
2. ที่เกี่ยวไข่นก นกกระทาที่เลี้ยงรวมในกรงรวมฝูงใหญ่ ถึงแม้ว่าพื้นกรงจะมีความลาดเอียง เพื่อให้ไข่ไหลออกมาได้ก็ตาม แต่ในบางครั้งไข่ก็ไม่กลิ้งไหลออกมานอกกรง จึงต้องใช้ที่เกี่ยวไข่ออกมา ที่เกี่ยวไข่นี้ทำง่ายๆ โดยใช้ไม้ไผ่ความยาวพอควร เหลาปลายด้านหนึ่งให้บางๆ แล้วโค้งเป็นห่วง ขนาดกว้าง 1 นิ้วครึ่ง - 2 นิ้ว ผูกติดกับปลายไม้ไว้ 3. เครื่องตัดปากนก ลูกนกเมื่ออายุ 30 วัน ก่อนที่จะแยกไปเลี้ยงในกรงนกใหญ่คสรจะตัดปากเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้นกจิกกัน การตัดปากนกอาจใช้หัวแร้งไฟฟ้า หรือหัวแร้งธรรมดาเผาไฟจี้ที่ปากนก หรือาจจะใช้มีดเผาไฟพอร้อนแล้วจี้ที่ปากนก หรือจะใช้ที่ตัดเล็กบตัดปากนกก็ได้ 4. เครื่องชั่ง สำหรับชั่งอาหาร น้ำหนักไข่ น้ำหนักนกกระทา เป็นต้น
การเริ่มเลี้ยงนกกระทา
1. โดยซื้อพันธุ์นกกระทา จากฟาร์มที่เพาะลูกนกกระทาขายซึ่งมักจะขายลูกนกกระทาเมื่อมีอายุประมาณ 18 วัน
2. โดยซื้อไข่มีเชื้อมาฟักเอง ซึ่งไม่ค่อยจะนิยมกันนัก มักจะซื้อตัวลูกนกมาเลี้ยง
การเก็บรักษาไข่ฟัก
ไข่นกกระทาที่นำมาใช้ฟัก หมายถึงไข่ที่เก็บจากแม่นกที่ได้รับการผสมพันธุ์จากพ่อนกแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ และหลังจากนำพ่อนกออกมาจากการผสมพันธุ์แล้วไม่เกิน 1 สัปดาห์ ไข่นกกระทาที่จะนำมาฟักนั้น หากไม่ได้นำเข้ามาฟักทันทีในแต่ละวัน จำเป็นต้องรวบรวมไว้ก่อน ซี่งมีวิธีการเก็บรักาาไข่ให้เชื้อยังแข็งแรงดังนี้ 1. เก็บไว้ในที่มีอากาศเย็น และสะอาดไม่อับชื้น 2. เก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทหมุนเวียนได้ดี 3. หากสามารถทำได้ ควรเก็บไข่ไว้ในที่อุณหภูมิประมาณ 50-60 องศาฟาเรนไฮต์ ความชื้นสัมพัทธ์ 70% 4. ไม่ควรเก็บไข่ฟัก ไว้นานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้การฟักออกเป็น ตัวลดลง เนื่องจากสีของเปลือกไข่นกกระทามีหลายสี มีจุดลายสีดำ สีน้ำตาล สีอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งอาจจะยากต่อการส่องไข่เพื่อดูจะดูว่าเป็นไข่มีเชื้อหรือไม่ หรือเชื่อตาย ดังนั้นหากต้องการล้างเอาสีล้างเอาสีของเปลือกไข่ออกเสียก่อน จะทำได้ดังนี้ 1. จุ่มไข่ลงในน้ำยาสารควอเตอร์นารี แอมโมเนี้ย ที่มีอุณหภูมิ 85 - 95 องศาฟาเรนไฮต์ 2. ใช้ฝอยขัดหม้อขัดเบาๆให้สีของเปลือกไข่หลุดออกมา 3. ปล่อยไข่ไว้ให้เปลือกไข่แห้ง จึงเก็บรวมนำไปฟักต่อไป
วิธีฟักไข่นกกระทา
นกกระทาฟักไข่เองไม่ได้เช่นเดียวกันกับไก่พันธุ์ไข่ทั่วๆ ไปจึงจำเป็นต้องใช้ตู้ฟักไข่ นกกระทา ซึ่งใช้เวลาฟักประมาณ 16 - 19 วัน ก่อนที่จะนำไข่เข้าตู้ฟัก จะต้องทำความสะอาดตู้ฟักให้ดี แล้วรมฆ่าเชื่อ โรคในตู้ฟัก ใช้ด่างทับทิม 6 กรัมต่อฟอร์มาลินลงที่ขอบของภาชนะให้ฟอร์มาลินค่อยๆไหลลงไปทำปฎิกิริยากับด่างทับทิมจากนั้นรีบปิดประตูตู้ฟัก ( หากเป็นตู้ไข่ไฟฟ้า เปิดสวิทช์ให้พัดลมหมุนด้วย )ปล่อยให้ควันรมอยู่ในตู้ประมาณ 20 นาที จึง ค่อยเปิดประตูและช่องระบายอากาศให้กลิ่นหายไปจากตู้ หากเก็บไข่ฟักไว้ในห้องที่มีความเย็น จะต้องนำไข่ฟักมาพักไว้สัก 2 ชั่วโมง เพื่อให้คลายความเย็นจนกว่าไข่ฟักจะมีอุณหภูมิปกติ จึงค่อยนำเข้าตู้ฟัก การวางไข่ในถาดฟักควรวางด้านปานของฟองไข่ขึ้นด้านบนเสมอ หากใช้ตู้ฟักไฟฟ้า ใช้อุณหภูมิ 99.5 องศาฟาเรนไฮต์ จะสูงต่ำกว่านี้ก็ไม่ควรเกิน 0.5 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70% ในช่วง 15 วันแรก และควรเพิ่มความชื้นเป็น 90 - 92 องศาฟาเรนไฮต์ในช่วงตั้งแต่ วันที่ 16 จนลูกนกฟักออก สำหรับการกลับไข่ ควรกลับไข่ไม่น้อยกว่าวันละ 3 ครั้ง ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มฟักจนถึงวันที่ 14 หลังจากนี้ให้หยุดกลับไข่เพื่อเตรียมไข่สำหรับการฟักออกเป็นตัวของลูกนก เมื่อฟักไข่ไปได้แล้ว 7 วัน ควรส่องไข่เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อหรือเชื้อตายหรือไม่และส่องดูไข่อีกครั้งเมื่อครบ 14 วัน ก่อนที่จะนำไข่ไปเข้าตู้เกิด เพื่อเตรียมการฟักออกของลูกนก หรือจะส่องไข่เพียงครั้งเดียวเมื่อฟักครบ 14 วัน แล้วก็ได้
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลของการฟักไข่
:: การทำให้ไข่ฟักมีเชื้อ ::
1. ช่องระยะเวลาที่เอาตัวผู้เข้าผสม ตามปกติไข่อาจมีเชื้อได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการผสมพันธุ์ หากผสมแบบธรรมชาติ หรือผสมแบบฝูง ราว 3- 5 วัน ให้เก็บไข่ไปพักได้ ถ้าเป็๋นฝูงใหญ่ ควรปล่อยตัวผู้ไว้ประมาณ 1 สัปดาห์จึงค่อย เก็บไข่ไปฟัก ทั้งนี้ในการผสมพันธุ์ถ้าเราเก็บไข่ไปเข้าฟักเร็วเกินไปทำให้ได้ไข่ไม่มีเชื้อมาก
2. ฤดูกาล ฤดูฟักไข่ในเมืองไทยควรเริ่มตั้งแต่ปลายฤดูไปจนถึงเดือน มีนาคม ซึ่งโอกาสที่เชื้อแข็งแรงและผสมติดจะมีมากกว่าในฤดูร้อน เนื่องด้วยสัตว์ปีกมีอัณฑะอยู่ในร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว ดังนั้นหากอากาศภายนอกสูงกว่า 94 องศาฟาเรนไฮต์ จะทำให้ตัวอสุจิเสื่อมสมรรถภาพและเป็น หมันชั่วคราว ฉะนั้นในฤดูร้อนจึงมักจะมีเชื้อต่ำกว่าฤดูธรรมดา
3. อาหาร ในฤดูผสมพันธุ์ ควรใช้อาหารที่มีคุณภาพดี มีโภชนะ บริบูรณ์แก่พ่อแม่พันธุ์อย่างพอเพียง การให้อาหารที่ขาดวิตามินอื่น เป็นเวลานานๆ หรือพ่อพันธุ์อย่างเพียงพอ การให้อาหารที่ขาดวิตามินอี หรือวิตามิน อื่น เป็นเวลานานๆ หรือพ่อพันธุ์กินอาหารไม่เพียงพอย่อมมีผลต่อสุขภาพ ทำให้พ่อพันธุ์นั้นให้เชื้อที่ไม่แข็งแรง พ่อ- แม่ที่ใช้ทำพันธุ์ควรให้อาหารที่มีโปรตีนสูง กว่าระยะไข่ คือ มีโปรตีนประมาณ 24 %
4. การผสมพันธุ์ พันธุกรรมมีผลต่อการมีเชื้อและการฟักออก การผสมเลือดชิดหลายๆชั่ว ( genneration ) จะทำให้ความสมบูรณ์พันธุ์ของไข่ลดลง เพราะถ่ายทอดลักษณะที่อ่อนแอมาด้วย
ตารางที่ 2 แสดงช่วงอายุการฟักออกเป็นตัว และการทำงานของตู้ฟัก สำหรับการฟักไข่ไก่ ไข่เป็ด และไข่นกกระทา
หมายเหตุ * ในกรณีใช้เครื่องวัดความร้อนและความชื้นแบบตุ้มแห้ง-ตุ้มเปียก
ที่มา : สุภาพร, 2539
:: อาหารนกกระทา ::อาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทาจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ และประเภทของการให้ผลผลิต เช่น เพื่อเป็นนกเนื้อ หรือนกไข่ ดังนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยง ในแต่ละช่วงอายุ จะต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพดี ราคาถูกมีหลายสูตรให้เลือก ตามความเหมาะสม ตามฤดูกาล และวัตถุดิบ
อาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทา อาจใช้
1. อาหารสำเร็จรูป
2.ใช้หัวอาหารผสมกับวัตถุดิบ
3.ใช้วัตุดิบผสมเอง ซึ่งมีสูตรต่างๆ ดังนี้
ตารางที่ 3 สูตรอาหารนกกระทาที่อายุต่างๆ
ที่มา : สถาบันวิจัยและพัมนาสัตว์ปีกแห่งชาติ จ.ปราจีนบุรี (พ.ศ.2540)
ปริมาณการให้อาหารนกกระทาของผู้เลี้ยงแต่ละรายจะแตกต่างกันไป สำหรับลูกนกอายุ 0-4 สัปดาห์ จะกินอาหารประมาณตัวละ 220 - 230 กรัม แต่เมื่อดตขึ้นในระยะให้ไข่จะกินอาหาร วันละ 20 -25 กรัม/ ตัว ให้อาหารวันละ 2- 3 ครั้ง โดยน้ำต้องมีให้นกกินตลอกเวลา
ตารางที่ 4 ปริมาณการกินอาหารของนกกระทา
ที่มา : อภิชัย, (ไม่ระบุ พ.ศ.)
การเลี้ยงดูและการให้อาหารนกกระทา
:: การเลี้ยงดูลูกนกตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 15 วัน ::เมื่อลูกนกฟักออกจากไข่หมดแล้ว สังเกตุ ดูเมื่อเห็นว่าขนแห้งดีแล้ว จึงค่อยนำออกมาจากตู้เกิด นำมาเลี้ยงในกรงกกลูกนก พื้นกรงควรปูรองด้วยกระสอบ ไม่ควร ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือกระดาษถุงอาหารปูรองเพราะจะทำให้ลูกนกลื่นเกิดขาถ่างหรือขาพิการได้ โดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักตังลูกนกเมื่ออายุ 1 วันจะหนัก ประมาณ 6.75 - 7.0 กรัม
นำลูกนกมาเลี้ยงในกรงกก เพื่อให้ความอบอุ่นจะใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 60 วัตต์แขวนไว้ในกรงกก ให้สูงจากพื้นประมาณ 30 ซม. แต่ถ้าสังเกตุว่าลูกนกหนาวควรจะเปลี่ยนหลอดไฟเป็นขนาด 100 วัตต์ หากใช้ตะเกียงก็ตั้งไว้บนพื้นกรง ปกติแล้วจะกกลูกนกเพียงแค่ 1 - 2 สัปดาห์เท่านั้น แต่ทั้งนี้ให้สังเกตุที่ตัวลูกนกและอุณหภูมิภายนอกด้วย
การให้อาหาร จะใช้อาหารสำเร็จรูปเลี้ยงลูกนก หรือจะผสมอาหารเองก็ได้ โดยให้มีโปรตีนประมาณ 24-28 % หรือจะใช้อาหารไก่งวงก็ได้
การให้น้ำ ใช้น้ำสะอาดใส่ในที่ให้น้ำ และใสกรวดเล็กๆ ลงในจานน้ำด้วย ในระยะ 3 - 7 วันแรกควรละลายพวกปฎิชีวนะผสมน้ำให้ลูกนกกิน จะช่วยให้เจริญเติบโตเร็วขึ้นและแข็งแรง ทั้งน้ำและอาหารจะต้องมีให้นกกินตลอดเวลา
เมื่อลูกนกอายุได้ 1 สัปดาห์ ควรเปลี่ยนเอากระสอบที่ปูรองพื้นกรงแล้ว เอากระสอบใหม่ปูรอง หรือจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษถุงอาหารปูรองพื้นแทนก็ได้
เมื่อลูกนกอายุได้ 10 วัน หรือ15 วัน ควรย้ายไปกรงนกรุ่นเพื่อไม่ให้แน่นเกินไปหากอากาศไม่หนาวเย็น ควรกกให้ไฟเฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้นและเมื่อถึงอายุ 30 -35 วัน จึงย้ายเข้ากรงนกไข่ต่อไป
ตามปกตินกจะมีขนงอกเต็มตัวเมื่ออายุ 3 - 4 สัปดาห์ และจะเป็นหนุ่มสาวเมื่อายุ 6 สัปดาห์
การเลี้ยงนกรุ่นตั้งแต่อายุ 15-35 วัน
การให้อาหาร ใช้อาหารลูกนกตามเดิม แต่อย่าใส่อาหารจนเต็มราง ใส่เพียงครึ่งรางเท่านั้น และควรใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมวางวางบนรางอาหารเป็นการป้องกันมิให้นกคุ้ยเขี่ยอาหารหล่นออกมานอกราง
การให้น้ำ ปฎิบัติเช่นเดียวกับการให้น้ำลูกนก ผิดกันแต่เพียงว่าไม่ต้องใส่ก้อนกรวดเล็กๆ ลงไปในจานน้ำอีกต่อไปแล้ว
เมื่อลูกนกอายุได้ 3 สัปดาห์ หรือจะรอจนกว่าลูกนกอายุได้ 1 เดือนก็ได้จะต้องทำการคัดเพศ แยกลูกนกตัวผู้และตัวเมียเลี้ยงพวกละกรง สำหรับตัวผู้หากประสงค์จะเลี้ยงไว้ทำพันธุ์ก็คัดเลือกเอาตัวผู้ที่มีลักษณะดีไว้เท่านั้น พวกที่เหลือก็นำไปเลี้ยงไว้ทำพันธุ์ก็คัดเลือกเอาตัวผู้ที่มีลักษณะดีไว้เท่านั้น พวกที่เหลือก็นำไปเลี้ยงขุนขายเป็นนกเนี้อต่อไป ส่วนนกตัวเมียหลังจากคัดเลือกเฉพาะตัวที่มีลักษณะดีแล้วควรจะทำการตัดปากเสียก่อน ที่จะนำไปเลี้ยงในกรงต่อไป โดยใส่นกจำนวน 50 - 75 ตัวต่อกรง ตามปกติแล้ว เมื่อลูกนกอายุ 2 เดือน จะมี น้ำหนัก 60 - 65 กรัม
การคัดเลือกนกกระทา โดยทั่วๆไปแล้ว การคัดเพศนกกระทานั้น ใช้วิธีสังเกตจากลักษณะภายนอกของนกกล่าวคือ สีของนกตัวผู้จะมีสีน้ำตาลแกมแดงเช่นกันซึ่งผู้รู้บางรายเรียกขนบริเวณแก้มนี้ว่าเครา นกตัวผู้ที่มีอายุ 30-40 วัน จะมีเสียงร้องขันด้วย ส่วนนกตัวเมีย ขนบริเวณคอสีไม่ค่อยเข้มหรืออาจมีสีน้ำตาลปนเทาและมีลายดำปนขาว
ถ้าจะคัดเพศให้ได้ผลแน่นอน ให้ตรวจดูที่ช่องทวาร เมื่อปลิ้นช่องทวาร เมื่อปลิ้นช่องทวารหากสังเกตเห็นติ่งเล็กๆ นกตัวนั้นเป็นตัวผู้ ส่วนในตัวเมียจะเห็นช่องเปิดของปากท่อไว้ชัดเจน
การเลี้ยงนกไข่ (อายุ 35 วัน ขึ้นไป)เมื่อนกอายุ 35 วันแล้ว ควรเปลี่ยนอาหารโดยให้อาหารที่มีโปรตีน ประมาณ 24 % เพื่อนกจะได้เจริญเติบโตเต็มที่มีขนเป็นมันเต็มตัว
ให้นกได้กินอาหารและน้ำสะอาดตลอดเวลา ตามความต้องการ การให้อาหาร ควรใส่อาหารเพียงครึ่งราง จะช่วยลดการสูญเสียอาหาร เนื่องจากถูกคุ้ยเขี่ยหล่นได้
หากนกได้กินอาหารที่จำนวนโปรตีนต่ำกว่า 24 % นกจะจิกกันมากจะเห็นขนบนหลังนกเหลือประปราย
โดยทั่วๆไปแล้ว หากนกได้กินอาหารที่มีจำนวนโปรตีนต่ำกว่า 24 % นกกระทาจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 49 - 54 วัน และเมื่อเริ่มให้ไข่ฟองแรกนกจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 120 - 140 กรัม ส่วนน้ำหนักฟองไข่ จะหนักประมาณ ฟองละ 9.6 - 10.4 กรัม
นกกระทาจะไข่ดกที่สุดระหว่างอายุ 60 150 วัน นกกระทาบางตัว หใไข่ดกถึง 300 กว่าฟองต่อปี
การเปลี่ยนอาหารสำหรับนกระยะให้ไข่ ไม่ควรเปลี่ยนกะทัน เพราะจะทำให้กระทบกระเทือนต่อการให้ไข่
พึงระมัดระวังอย่าให้มีลมโกรกมากเกินไป ควรให้แสงสว่างในเวลากลางคืนโดยมีแสงสว่าง ประมาณ 1 - 5 แรงเทียน ต่อตารางฟุต และความยาวของช่วงแสงไม่น้อยกว่า 14 ช.ม./วัน โดยแสงจะต้องกระจายทั่วไป อย่างสม่ำเสมอ อย่าให้มีเงามืดบังทับรางน้ำรางอาหาร
การเลี้ยงนกเนื้อ นกตัวผู้ที่เหลือจากการคัดเลือกไว้ทำพันธุ์ เมื่ออายุ 30 วัน แล้วนำมาเลี้ยง รวมกันในกรงนกรุ่น โดยใส่กรงละประมาณ 150 - 200 ตัว ให้อาหารไก่กระทงสำเร็จรูปก็ได้ เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 40 -50 วัน ก็จับขายได้ นอกจากนี้นกตัวเมีย ที่ให้ไข่ไม่คุ้มทุนก็นำมาขุนขายได้
การผสมพันธุ์นกกระทา นกกระทาตัวผู้และตัวเมีย ที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์นั้นจะต้องคัดเลือกตัวที่มีลักษณะดี เช่น ตัวผู้จะต้องเป็นนกที่มีความเจริญ เติบโตเร็ว แข็งแรงมีลักษณะสมกับเป็นพ่อพันธุ์ ส่วนตัวเมียก็ต้องเป็นนกที่มีการเจริญเติบโตเร็วแข็งแรง เช่นกัน และเมื่อเริ่มเป็นสาวจะพบว่า ส่วนท้องติดก้นมีลักษณะใหญ่ ทั้งนกตัวผู้และนกตัวเมียที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องมีอายุอยู่ระหว่าง 50 -70 วัน
ในการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ผลดี ควรระวังอย่าให้มีการผสมเลือดชิดกันจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกนกที่เกิดมาพิการ หรือเปอร์เซ็นการฟักออกเป็นตัวจะลดน้อยลงควรจะให้วิธีผสมเลือดห่างๆ หรือผสมข้ามพันธุ์ เพื่อจะได้รักษาพันธุ์ไว้ได้ต่อไป
อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ ควรใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 2 ตัว เพื่อจะได้ไข่ฟักที่มีเชื้อดี หรือหากจำเป็นไม่ควรใช้พ่อพันธุ์ หนึ่งตัวต่อแม่พันธุ์เกิน 3 ตัว
โดยทั่วไปแล้วเมื่อแม่พันธุ์นกได้รับการผสมพันธุ์ จากพ่อพันธุ์แล้ว ไข่จะ เริ่มมีเชื้อเมื่อวันที่ สอง และจะมีเชื่อต่อไปถึง 6 วัน แต่ไม่เกิน 10 วัน หลังจากแยกตัวผู้ออกแล้ว แต่ถ้าจะให้แน่ใจควรจะเก็บไข่ฟักเมื่อแม่นกได้รับการผสมไปแล้ว 5 วัน และไม่เกิน 7 วัน หลังจากแยกพ่อพันธุ์ออกแล้ว
การมีเชื้อของไข่ มักจะเริ่มลดลง เมื่อ พ่อ- แม่พันธุ์ อายุมากกว่า 8 เดือน แม่พันธุ์อายุมากก็ยังมีไข่ฟักออกลดลง การให้พ่อพันธุ์อยู่ด้วยกันตลอดเวลา จะให้ไข่มีเชื้อสูงกว่า และถ้าเอาตัวผู้อยู่ร่วมกับตัวเมีย ก่อนเป็นหนุ่มสาว จะลดนิสัยจิกรังแกกัน